Gasohol 95 ก็คือเบนซิน 91 ผสมกับ แอลกอฮอล 10 ส่วนนั่นเองแล้วลองคิดเล่น ๆ ดูนะครับ ว่าจากน้ำมัน 91 เปลี่ยนเป็นน้ำมัน 95ได้นั้น ตัวที่มาผสมต้องมีค่าอ๊อกเทนสูงกว่า 95 เมื่อนำมาผสมกันแล้วจึงสามารถเปลี่ยนค่าอ๊อกเทน จาก 91 เป็น 95 ได้ใช่แล้วครับ แอลกอฮอลที่ผสมลงไปนั้นมีค่าอ๊อกเทนสูงกว่า 95 มากค่าอ๊อกเทนสูงเกิน 100 ด้วย(แต่ผมจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่) แล้วแอลกอฮอลนั้นก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดก็คือ Ethanol และ Methanol ที่นำมาทำเป็นแก๊สโซฮอล 95 คือ Ethanol ครับด้วยการที่แอลกอฮอลมีค่าอ๊อกเทนสูงกว่าจึงทำให้รถแข่ งในหลาย ๆ ประเภทต้องใช้แอลกอฮอลมาเป็นเชื่อเพลิง ถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะ...งง ว่าถ้ารถแข่งเอามาใช้ก็แปลว่ามันต้องใส่แล้วแรงกว่าน้ำมันสิ แต่ทำไมแก๊สโซอฮอลของบ้านเราเติมแล้วแรงสู้น้ำมัน 95 ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ค่าอ๊อกเทนก็เท่ากันตรงนี้ต้องอธิบายกันยาวหน่อย คนที่พอศึกษามาบ้างแล้ว คงจะพอนึกออกว่าอัตราส่วนผสม ของอากาศ และน้ำมัน สำหรับรถยนต์ตามทฤษฎีแล้วมันจะป้วนเปี้ยนอยู่แถว ๆ 13 - 14 ต่อ 1 ใช่ไหมครับแต่สำหรับแอลกอฮอลนั้น จะอยู่แถว ๆ 7 - 8 ต่อ 1 นั่นก็หมายความว่าถ้าอากาศเข้าเครื่องได้เท่าเดิม รถที่ใช้แอลกอฮอล จะมีอัตราการบริโภคเชื่อเพลิงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซินเกือบ ๆ 2 เท่าตัวเลยทีเดียว นี่แหล่ะคือเหตุผลของความแรงการที่รถแข่งบริโภคแอลกอฮอลมากกว่า ทำให้ได้พลังงานจากการเผาไหม้มากกว่านั่นเอง ถึงแม้ว่าค่าพลังงานของแอลกอฮอล 1 หน่วย จะมีค่าน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน1 หน่วยก็ตาม แต่เมื่อเราใช้แอลกอฮอลมากขึ้นเป็นเกือบ ๆ 2 เท่า ค่าพลังงานของแอลกอฮอล 2 เท่าจึงมากกว่าน้ำมันเบนซิน 1 หน่วย.................................................. ........................................แล้วรถบ้าน เติมแก๊สโซฮอล 95 แล้วมันจะเป็นยังไงรถที่เครื่องยนต์ถูกปรับแต่งมาจากโรงงานเพื่อรองรับน ้ำมันเบนซิน 95ถ้าเอามาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล แน่นอนจากเดิมที่เคยบอกว่าส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันถูกโรงงานเซ็ทมาที่ 13 - 14 ต่อ 1 สำหรับน้ำมัน 95แต่เมื่อเติมแก๊สโซฮอลแล้ว อัตราส่วนผสมจะเปลี่ยนเพราะในน้ำมันมีแอลกอฮอลผสมอยู่ 10 ส่วน อาจจะเปลี่ยนไปเป็น 10 - 12 ต่อ 1 อะไรประมาณนี้ ซึ่งหัวฉีดของรถยนต์จ่ายน้ำมันได้เท่าเดิม เพราะกล่องสั่งมาแบบนี้ จากส่วนผสมตอนเติมน้ำมัน 95 นั้นพอดี แต่พอเปลี่ยนมาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอลส่วนผสมดังกล่าวจะกลายเป็น "บาง" หรือ Lean ทำให้รถมีอาการสะดุด Knock หรือเดินไม่เรียบ ได้กำลังเครื่องไม่เต็มประสิทธิภาพเพราะค่าพลังงานของน้ำมันแก๊สโซฮอล 1 หน่วย น้อยกว่าน้ำมันเบนซิน 951 หน่วย.................................................. .............................................อารเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล จะให้ค่า O2 มากกว่าการเผาไหม้ของน้ำมันเป็นซิน ทำให้ O2 เซ็นเซอร์เข้าใจว่า O2 ที่มากกว่านั้น มาจากส่วนผสมที่บาง (อากาศ มากกว่าน้ำมัน) จึงสั่งงานให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าส่วนผสมนั้นพอดี (แต่มันไม่มีวันพอดี เพราะกล่องเราไม่รู้ว่าเราใช้แก๊สโซฮอลอยู่) นี่จึงเป็นเหตุผลว่าเวลาเติมแก๊สโซฮอลแล้ว รถของเราจึงมีอัตรสิ้นเปลืองมากกว่าปกติไงล่ะครับส่วนเรื่องความแรง ถ้าพูดในเชิงรถบ้าน รถที่เติมแก๊สโซฮอล แล้วยังไม่ได้จูน ย่อมแรงน้อยกว่ารถที่เติมน้ำมันเบนซิน เนื่องจากว่าแก๊สโซฮอล 1 หน่วย ให้ค่าพลังงานน้อยกว่าน้ำมัน 95พูดง่าย ๆ ก็คือแก๊สโซฮอลจุดระเบิดได้ไม่รุนแรงเท่าน้ำมัน 95 นั่นเองแต่ถ้าพูดในแง่ของการปรับแต่งกล่องแล้ว รถที่เติมแก๊สโซฮอล สามารถสร้างพลังงานให้ได้เท่ากัน หรือาจจะมากกว่าน้ำมัน 95 ด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เจ้าของรถต้องทำคือ สร้างกำลังอัดให้้เหมาะสมเพราะค่าอ๊อกเทน 95 คือค่าคงที่อยู่แล้ว เราไม่ต้องไปกังวล 95 ก็คือ 95 แต่สิ่งที่ทำให้แก๊สโซฮอล และน้ำมันเบนซินต่างกันก็คือเรื่องของส่วนผสม ถ้าเรายังไม่ได้จูนอากาศเข้าเครื่องจากแรงดูดได้เท่าเดิม เชื้อเพลิงจากหัวฉีดจ่ายได้เท่าเดิมตามที่กล่องสั่ง แต่ค่าพลังงงานที่ได้จากเชื้อเพลิงไม่เท่ากัน ทำให้แรงต่างกันอย่างที่บอกว่าอัตราส่วนผสมของแอลกอฮอล อยู่ที่ประมาณ 7-8 ต่อ 1 ฉนั้นเมื่อเอาแอลกอฮอลมาผสมกับน้ำมันแล้ว ค่าส่วนผสมของน้ำมันที่เคยอยู่แถว 13 - 14 ต่อ 1 ก็จะเปลี่ยนไป ในทางที่หนาขึ้น เมื่อจ่ายเชื้อเพลิงหนาขึ้น(มากขึ้น) พลังงานที่ได้จากการจุดระเบิด 1 ครั้งก็จะมากขึ้นทำให้รถแรงขึ้น แต่ก็มีอัตราการบริโภคที่ดุเดือดมากขึ้นด้วยหมายความว่ารถที่เติมแก๊สโซฮอลก็แรงได้ แต่จะแดกน้ำมันชิปหาย.................................................. ........................................มาดูข้อเสียของน้ำมันแก๊สโซฮอลกันบ้างดีกว่า น้ำมันแก๊สโซฮอลที่ขายอยู่ในบ้านเรานั้น ไม่ใช่ว่าอยากจะเติมก็เติม จริงอยู่สื่อหลาย ๆ ประเภทก็บอกว่าเติมน้ำมันแก๊สโซฮอลแล้วดีอย่างโน้น ดีอย่างนี้ ก็แน่ล่ะ ใครจะบอกว่ามันไม่ดี ไม่ดีก็ขายไม่ได้อ่ะดิข้อเสียอย่างแรก ที่ผมได้เรียนรู้ จากประสบการณ์การทำรถแข่ง เมื่อก่อนนี้เคยรวมหัวกับเพื่อน ทำรถแข่งที่ใช้แอลกอฮอลเป็นเชื้อเพลิงเพียว ๆ แต่ไปไม่ถึงดวงดาว ไม่ซีเรียสครับ ถึงจะไม่ได้แข่ง แต่ได้ทำ ได้รู้ ผมว่าคุ้มแล้วข้อเสียอย่างแรกคือ "น้ำ" ครับ แอลกอฮอลเมื่อโดนความร้อน จะระเหยได้มันก็ระเหยได้เหมือนน้ำมันเบนซินนั่นแหล่ะ แล้วน้ำมาจากไหนล่ะน้ำมาจากการกลั่นตัวของแอลกอฮอลครับ เพราะแอลกอฮอลเมื่อควบแน่นแล้วจะได้น้ำกลับมาด้วย ถ้าคุณเติมแก๊สโซฮอลทิ้งไว้ในถังนาน ๆ จึงไม่แปลกที่จะมีน้ำปนในถังของคุณ ยิ่งถ้าเป็นแอลกอฮอลที่มีส่วนผสมสูง ๆ อย่าง E20หรือ E85 ย่อมมีโอกาสเกิดน้ำได้มากกว่ายกตัวอย่างจากรถแข่งที่เคยทำมา ตรงนี้ผมจะมีปั๊มตัวเล็ก ๆ ตัวนึง ใช้ดูดไอของแอลกอฮอลออกมาปล่อยทิ้งข้างนอก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำในระบบเพราะถ้าน้ำเกิดปนเข้าไปในระบบกับเครื่องที่หมุนเกือ ยหมื่นรอบ รับรองพังแน่นอนครับ
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
Asimo หุ่นยนต์สมองกล
อาซิโม ฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาหุ่นยนต์อาซิโม ซึ่งมีลักษณะคล้ายการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์มานานหลายปี อาซิโมได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาหลายเวอร์ชั่น จนกระทั่งสามารถทำงานเป็นผู้ช่วยของมนุษย์ในสำนักงานได้ ในบ้านเราฮอนด้าก็ส่งอาซิโม มาทำหน้าที่ทูต เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัทหลายครั้ง
ล่าสุด ฮอนด้า ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัจฉริยะสมองกลในหุ่นยนต์อาซิโม ให้สามารถทำหน้าที่พนักงานต้อนรับในสำนักงานได้ต่อเนื่องพร้อมกัน โดยฮอนด้าได้ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ให้อาซิโมในกรุงโตเกียว จำนวน 2 ตัว เพื่อทำการทดลองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา
เทคโนโลยีอัจฉริยะสมองกลของอาซิโม ช่วยให้หุ่นยนต์มีความสามารถเพิ่ม ขึ้น 3 ด้าน
ความสามารถแรก คือ จัดสรรหน้าที่และปฏิบัติงานพร้อมกันหลายตัวได้ในเวลาเดียวกัน โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีใหม่กับความสามารถในการปฏิบัติงานภายในสำนักงาน เช่น เสิร์ฟเครื่องดื่ม เข็นรถ หากอาซิโมตัวหนึ่งหยุดทำงาน อาจจะเพราะว่ากำลังชาร์จแบตเตอรี่ อาซิโมตัวอื่นที่อยู่ในบริเวณนั้นก็จะตัดสินใจทำงานแทนทันที โดยจะคำนวณจากระยะทาง แบตเตอรี่ที่เหลืออยู่
ความสามารถที่สอง คือ การตัดสินใจเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่น โดยอาซิโมจะคาดเดาและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผู้ที่จะเข้าใกล้ วิธีการก็คือ เมื่อมีผู้เข้าใกล้ผ่านกล้องรับภาพที่ตา อาซิโมจะคำนวณทิศทางและความเร็ว คาดการณ์การเคลื่อนไหวของผู้ที่เข้าใกล้ และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเปิดทางให้ หากมีพื้นที่ไม่พอ อาซิโมก็จะตัดสินใจอัตโนมัติว่าจะถอยหลังหรือเดินหน้า
ความสามารถสุดท้ายที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม คือ สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ด้วยตนเอง เมื่อระดับแบตเตอรี่เหลือต่ำกว่าระดับที่กำหนด อาซิโมก็จะเข้าไปชาร์จแบตเตอรี่ทันที สถานีชาร์จแบตเตอรี่ของอาซิโมถูกพัฒนาใหม่เพื่อรองรับความสามารถของหุ่นยนต์ในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง เมื่อเหลือแบตเตอรี่ในตัวน้อยกว่าระดับ อาซิโมจะหาตำแหน่งของสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุดแล้วเดินไปยังสถานีชาร์จที่กำหนดตำแหน่งได้เพื่อชาร์จพลังงานให้ตัวเองทันที
ฮอนด้า จะยังคงพัฒนาเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะของอาซิโมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะทำให้หุ่นยนต์อาซิโมสามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ในชีวิตประจำวัน และเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาล่าสุดนี้จะช่วยให้อาซิโมสามารถปฏิบัติงานในสภาวะที่แวดล้อมไปด้วยมนุษย์และหุ่นยนต์อาซิโมตัวอื่น ๆ ขณะนี้หุ่นยนต์รุ่นใหม่อยู่ระหว่างทดลองและกำหนดการไปโชว์ความสามารถในประเทศต่าง ๆ และจะมาเยือนเมืองไทยในเดือนมีนาคม ปีหน้าแน่นอน
ล่าสุด ฮอนด้า ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัจฉริยะสมองกลในหุ่นยนต์อาซิโม ให้สามารถทำหน้าที่พนักงานต้อนรับในสำนักงานได้ต่อเนื่องพร้อมกัน โดยฮอนด้าได้ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ให้อาซิโมในกรุงโตเกียว จำนวน 2 ตัว เพื่อทำการทดลองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา
เทคโนโลยีอัจฉริยะสมองกลของอาซิโม ช่วยให้หุ่นยนต์มีความสามารถเพิ่ม ขึ้น 3 ด้าน
ความสามารถแรก คือ จัดสรรหน้าที่และปฏิบัติงานพร้อมกันหลายตัวได้ในเวลาเดียวกัน โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีใหม่กับความสามารถในการปฏิบัติงานภายในสำนักงาน เช่น เสิร์ฟเครื่องดื่ม เข็นรถ หากอาซิโมตัวหนึ่งหยุดทำงาน อาจจะเพราะว่ากำลังชาร์จแบตเตอรี่ อาซิโมตัวอื่นที่อยู่ในบริเวณนั้นก็จะตัดสินใจทำงานแทนทันที โดยจะคำนวณจากระยะทาง แบตเตอรี่ที่เหลืออยู่
ความสามารถที่สอง คือ การตัดสินใจเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่น โดยอาซิโมจะคาดเดาและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผู้ที่จะเข้าใกล้ วิธีการก็คือ เมื่อมีผู้เข้าใกล้ผ่านกล้องรับภาพที่ตา อาซิโมจะคำนวณทิศทางและความเร็ว คาดการณ์การเคลื่อนไหวของผู้ที่เข้าใกล้ และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเปิดทางให้ หากมีพื้นที่ไม่พอ อาซิโมก็จะตัดสินใจอัตโนมัติว่าจะถอยหลังหรือเดินหน้า
ความสามารถสุดท้ายที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม คือ สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ด้วยตนเอง เมื่อระดับแบตเตอรี่เหลือต่ำกว่าระดับที่กำหนด อาซิโมก็จะเข้าไปชาร์จแบตเตอรี่ทันที สถานีชาร์จแบตเตอรี่ของอาซิโมถูกพัฒนาใหม่เพื่อรองรับความสามารถของหุ่นยนต์ในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง เมื่อเหลือแบตเตอรี่ในตัวน้อยกว่าระดับ อาซิโมจะหาตำแหน่งของสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุดแล้วเดินไปยังสถานีชาร์จที่กำหนดตำแหน่งได้เพื่อชาร์จพลังงานให้ตัวเองทันที
ฮอนด้า จะยังคงพัฒนาเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะของอาซิโมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะทำให้หุ่นยนต์อาซิโมสามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ในชีวิตประจำวัน และเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาล่าสุดนี้จะช่วยให้อาซิโมสามารถปฏิบัติงานในสภาวะที่แวดล้อมไปด้วยมนุษย์และหุ่นยนต์อาซิโมตัวอื่น ๆ ขณะนี้หุ่นยนต์รุ่นใหม่อยู่ระหว่างทดลองและกำหนดการไปโชว์ความสามารถในประเทศต่าง ๆ และจะมาเยือนเมืองไทยในเดือนมีนาคม ปีหน้าแน่นอน
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
Drift King
ประวัติ Drift King Keiichi Tsuchiya
เคอิชิ ซึชิย่า เริ่มต้นการแข่งในวัยหนุ่มเหมือนนักแข่งที่ยิ่งใหญ่ส่วนมาก
เมื่อตอนที่เขาหัดขับรถเขาก็เริ่มต้นทดลองดึงเบรคมือเพื่อให้ท้ายปัดและใช้พวงมาลัยแก้อาการ ซึ่งทำให้เขารู้สึกสนุกและนั่นเป็นการสอนพื้นฐานการควบคุมรถไปในตัวด้วย
เค้าไม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถแข่งหรือมีครอบครัวที่ร่ำรวยเหมือนนักแข่งผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นซึ่งสิ่งนั้นสามารถเพิ่มพูนทักษะการขับเขาได้ แต่เขามีแค่แรงผลักดันที่อยากจะขับรถเป็นพื้นฐานเท่านั้น
เขาเริ่มที่จะสร้างความรู้สึกที่ว่าทำอย่างไรถึงจะผ่านโค้งด้วยความเร็วที่สูงที่สุดโดยการขับบนภูเขาแถวบ้าน ซึ่งนี่ไม่ใช่ทางที่ปลอดภัยหรือเท่ห์ในการเรียนรู้การแข่งรถ อย่างไรก็ตามเขาก็เรียนรู้มากขึ้นจากการวิ่งแข่งบนภูเขา(Touge)
เขาประสบอุบัติเหตุบ้างเช่นขับ รถสกายไลน์รุ่น KPGC10 ตกเขาหรือขับชนข้างกำแพง และการขับบนหิมะก็ได้เพิ่มพูนทักษะการควบคุมรถมากขึ้น ยิ่งเขาขับบนสภาพพื้นผิวที่ต่างกันมากเท่าไหร่เขาก็เริ่มที่จะดริฟท์ผ่านโค้งได้อย่างสบายขึ้น เขาเริ่มดริฟท์ไม่ใช่เพราะเขาต้องการขับผ่านโค้งได้เร็วกว่าใคร แต่เพราะว่าเขารู้สึกตื่นเต้นกับมันมากที่สุด......
การดริฟท์ผ่านโค้งไม่ใช่วิธีที่จะขับผ่านโค้งได้เร็วที่สุดในทุกๆโค้ง และนี่เป็นที่ ที่ซึชิย่าถูกสวมมงกุฏในฐานะ Dori Kin หรือDrift King ในการจัดแข่งขันการดริฟท์ของนิตยสารออพชั่นซึ่งตัดสินการแข่งขันโดยดูที่สไตล์และเทคนิคที่ใช้ในการดริฟท์ และภายหลังก็ได้ตัดสินกันที่ไลน์ดริฟท์และมีการแข่งที่โค้งมากขึ้นซึ่งความยากจะมีมากกว่า
ย้อนกลับไปในปี 1977 เคอิชิ เริ่มการอาชีพขับรถแข่งของเขากับรถแข่งมากมายในการแข่งขันรุ่นสมัครเล่นต่างๆ การแข่งโดยใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์น้อยนั้นยากแต่ก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อมา เคอิชิได้มาขับรถ โตโยต้า AE86 รุ่นปี1984 ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทผลิตยาง ADVAN ระหว่างการขับแข่งลงเขามากมาย เคอิชิ ดริฟท์ผ่านโค้งและใช้ความเร็วที่ดีกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ
ซึ่งเทคนิคที่เค้าใช้ทำให้เค้าเป็นดริฟท์คิง แต่นั่นก็ไม่เท่ากับที่เค้าได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่ดริฟท์ การพัฒนาของเขาเพิ่มพูนขึ้นพอๆกับชื่อเสียงของเขา ในขณะนั้นเขาเป็นนักขับรถแข่งอาชีพแล้ว และเค้าก็ยังไปแข่งนอกกฎหมายตามภูเขาซึ่งทำให้ชื่อเสียงเค้าโด่งดังมากขึ้น หลังจากที่มีการออกวีดีโอโดยมีการปรากฏของ เคอิชิ และการที่เขายังไปแข่งนอกกฎหมายที่ภูเขาทำให้ใบขับขี่ของเขาถูกยึดสำหรับนักขับรถแข่งมืออาชีพนี่เป็นสิ่งที่น่าอายมาก
แต่สำหรับเขากลับกลายว่าเป็นประโยชน์ ทำให้แฟนๆของเขาและชื่อเสียงของเขาขยายมากขึ้น คุณอาจเรียกเขาได้ว่ากบฏ หรือว่าเขาเป็นเพียงคนที่มาจากที่ๆไม่มีใครรู้มาเพื่อความสำเร็จโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและไม่มีภูมิหลังของการแข่งรถมาก่อน เขายังคงผูกพันกับรถเก่าๆที่เขาใช้ชีวิตการแข่งขันโดยเติบโตมากับมัน,ดริฟท์ และ ได้รับชัยชนะมากับมัน นั่นคือโตโยต้า AE86 คุณสามารถชมมันได้จากวีดีโอที่พูดถึงรถรุ่นนี้ซึ่งชื่อว่า AE86Clubทางโตโยต้าเองก็รู้สึกว่าเค้าเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนรถนี้และมอบ AE86 TRD ให้แก่เขา
ขุมพลัง4A-GE
รหัสแห่งความแรง4A-GE
4A-GE 16Valveนะ นอกจากนี้นะยังต้องดูถึงว่าเครื่องแต่ละตัวที่ใช้กันแต่ละปี มันก็ยังมีข้อแตกต่างกันอีก ซึ่งมีการดัดแปลงตามความเหมาะสม อย่างวางใน MR 2 ที่เป็นเครื่องท้ายขับหลัง จุดยึด และส่วนประกอบก็แตกต่างกัน หรือแม้แต่เครื่องตัวเดียวกันเนี่ยแต่ไปอยู่ประเทศอื่นก็จะมีสเปคที่ต่างกัน เช่นเครื่อง 4A-GE สมัยอยู่ญี่ปุ่น มีพลัง 140ps ที่ 7,200rpm และแรงบิดสูงสุด 15kg/m ที่ 6,000rpm พอลงเรือล่องทะเลมาอยู่ใน Corolla AE92 บ้านเรา เหลือพลังให้ใช้กัน 130.5ps ที่ 7,000rpm แรงบิดสูงสุดเหลือแค่ 14.8kg/m ที่ 6,000rpm (เอะ! หายไปไหนหว่า สงสัยจะตกทะเลตายไประหว่างทาง เหอๆ) นี่เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเครื่องแต่ละรุ่นแต่ละปีนั้นมีความแตกต่างกันไม่น้อย ตามความเหมาะสมกับรูปแบบ ของรถด้วย แต่ผมคงไม่พูดถึงข้อแตกต่างกันอย่างละเอียดเหมือนตัวอย่างที่ยกให้ดูข้างบนหรอกนะ เอาแค่คร่าวๆพอ ลงสเปคให้ดูพอ เครื่อง4A-GE รุ่นแรก สมัยปี 1984-1985 เริ่มใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหลังเช่น Corona รุ่นหน้าแหลม Celica, Carina, Corolla Levin, Corolla Sprinter และMR 2 สังเกตกันได้ง่ายเพราะจะมีสายหัวเทียนโผล่ออกมา ดูแล้วรุงรัง สายหัวเทียนที่ฝาครอบจานจ่ายจะกระจายไปรอบตัว ซึ่งในยุคนั้นจะเป็นเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รวม 2รุ่นแต่มีสเปคเครื่องเหมือนกันเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU ปี1984-1985General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 9.4 : 1Max Power(hp) 130 at 6,600rpmMax Torque(kg/cm) 15.2 at 5,200rpmพอมาช่วงปี 1986-1987 เครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รูปทรงของเครื่อง และสเปคเครื่องยังไม่เปลี่ยน มีการโชว์สายหัวเทียนเหมือนเดิม แต่มีการเพิ่มเครื่อง 4A-GZE พลังซุปเปอร์ชาร์จแบบ Roots Type ในบอดี้ของ MR 2 เพิ่มขึ้นมาอีกเครื่อง ซึ่งตัวบล็อคของ 4A-GZE มันก็เหมือนกับ 4A-GEU และ4A-GELU มีการโชว์สายหัวเทียนอยู่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนจานจ่ายเป็นรุ่นใหม่ แบบที่เรียงเป็น 2แถวซ้อนกัน และขั้วเสียบสายหัวเทียนชี้ขึ้นด้านบนหมด ไม่กระจายรอบตัวแบบเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU เครื่อง 4A-GZE ปี1986-1987 General DOHC 4cylinder 16valve SuperchargerCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 8.0 : 1Max Power(hp) 145 at 6,400rpmMax Torque(kg/cm) 19.0 at 4,400rpmสำหรับปี 1987-1988 เครื่องบล็อก 4A-GZE ยังใช้สเปคเหมือนเดิม เบ่งพลังออกมาให้ใช้ 145ps ที่ 6,000rpmแต่หน้าตาได้เปลี่ยนไปแล้ว คือจะมีตัวหนังสือคำว่า SUPER CHARGER สีแดงแถวขอบ Intercooler ตัวไดชาร์จที่เคยอยู่ใต้จานจ่ายเที่ยวนี้ถูกไล่ไปอยู่ข้างๆอ่างน้ำมันเครื่อง ส่วนเครื่อง 4A-GELU และ4A-GE(ไม่มี U ต่อท้ายแล้ว) หน้าตายังคงเหมือนเดิม แต่ภายในได้เปลี่ยนไป ทำให้เรี่ยวแรงถดถอยลงกว่าเดิมอีก (เหอๆ จะเปลี่ยนทำไมหว่า)เครื่อง 4A-GELU และ4A-GE ปี1987-1988 General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 9.4 : 1Max Power(hp) 120 at 6,600rpmMax Torque(kg/cm) 14.5 at 5,200rpmในปี 1989-1990 เครื่องตัว 4A-GE เริ่มมีการแต่งหน้าทาปากเสริมหล่อมากขึ้น มีแผ่นปิดสายหัวเทียนเรียบร้อยไม่เกะกะสายตาพร้อมกับเพิ่มพลังให้มากขึ้นด้วย จะได้ไม่ถูกพรรคพวกพิกัดเดียวกันสวนเอาง่ายๆ (เหอๆ จะเหลือไม๊เนี่ย) ส่วนเครื่อง 4A-GZEถึงจะไม่มีการแต่งเติมเสริมความหล่อก็ตาม แต่ภายในมีการอัดฉีดเพิ่มพลังกังฟู จนได้พลังเพิ่มขึ้นอีกโขเลยทีเดียวเครื่อง 4A-GE ปี1989-1990 General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 10.3 : 1Max Power(hp) 140 at 7,200rpmMax Torque(kg/cm) 15 at 6,000rpmเครื่อง 4A-GZE ปี1989-1990 General DOHC 4cylinder 16valve SuperchargerCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 8.9 : 1Max Power(hp) 165 at 6,400rpmMax Torque(kg/cm) 21.0 at 4,400rpm
4A-GE 16Valveนะ นอกจากนี้นะยังต้องดูถึงว่าเครื่องแต่ละตัวที่ใช้กันแต่ละปี มันก็ยังมีข้อแตกต่างกันอีก ซึ่งมีการดัดแปลงตามความเหมาะสม อย่างวางใน MR 2 ที่เป็นเครื่องท้ายขับหลัง จุดยึด และส่วนประกอบก็แตกต่างกัน หรือแม้แต่เครื่องตัวเดียวกันเนี่ยแต่ไปอยู่ประเทศอื่นก็จะมีสเปคที่ต่างกัน เช่นเครื่อง 4A-GE สมัยอยู่ญี่ปุ่น มีพลัง 140ps ที่ 7,200rpm และแรงบิดสูงสุด 15kg/m ที่ 6,000rpm พอลงเรือล่องทะเลมาอยู่ใน Corolla AE92 บ้านเรา เหลือพลังให้ใช้กัน 130.5ps ที่ 7,000rpm แรงบิดสูงสุดเหลือแค่ 14.8kg/m ที่ 6,000rpm (เอะ! หายไปไหนหว่า สงสัยจะตกทะเลตายไประหว่างทาง เหอๆ) นี่เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเครื่องแต่ละรุ่นแต่ละปีนั้นมีความแตกต่างกันไม่น้อย ตามความเหมาะสมกับรูปแบบ ของรถด้วย แต่ผมคงไม่พูดถึงข้อแตกต่างกันอย่างละเอียดเหมือนตัวอย่างที่ยกให้ดูข้างบนหรอกนะ เอาแค่คร่าวๆพอ ลงสเปคให้ดูพอ เครื่อง4A-GE รุ่นแรก สมัยปี 1984-1985 เริ่มใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหลังเช่น Corona รุ่นหน้าแหลม Celica, Carina, Corolla Levin, Corolla Sprinter และMR 2 สังเกตกันได้ง่ายเพราะจะมีสายหัวเทียนโผล่ออกมา ดูแล้วรุงรัง สายหัวเทียนที่ฝาครอบจานจ่ายจะกระจายไปรอบตัว ซึ่งในยุคนั้นจะเป็นเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รวม 2รุ่นแต่มีสเปคเครื่องเหมือนกันเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU ปี1984-1985General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 9.4 : 1Max Power(hp) 130 at 6,600rpmMax Torque(kg/cm) 15.2 at 5,200rpmพอมาช่วงปี 1986-1987 เครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รูปทรงของเครื่อง และสเปคเครื่องยังไม่เปลี่ยน มีการโชว์สายหัวเทียนเหมือนเดิม แต่มีการเพิ่มเครื่อง 4A-GZE พลังซุปเปอร์ชาร์จแบบ Roots Type ในบอดี้ของ MR 2 เพิ่มขึ้นมาอีกเครื่อง ซึ่งตัวบล็อคของ 4A-GZE มันก็เหมือนกับ 4A-GEU และ4A-GELU มีการโชว์สายหัวเทียนอยู่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนจานจ่ายเป็นรุ่นใหม่ แบบที่เรียงเป็น 2แถวซ้อนกัน และขั้วเสียบสายหัวเทียนชี้ขึ้นด้านบนหมด ไม่กระจายรอบตัวแบบเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU เครื่อง 4A-GZE ปี1986-1987 General DOHC 4cylinder 16valve SuperchargerCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 8.0 : 1Max Power(hp) 145 at 6,400rpmMax Torque(kg/cm) 19.0 at 4,400rpmสำหรับปี 1987-1988 เครื่องบล็อก 4A-GZE ยังใช้สเปคเหมือนเดิม เบ่งพลังออกมาให้ใช้ 145ps ที่ 6,000rpmแต่หน้าตาได้เปลี่ยนไปแล้ว คือจะมีตัวหนังสือคำว่า SUPER CHARGER สีแดงแถวขอบ Intercooler ตัวไดชาร์จที่เคยอยู่ใต้จานจ่ายเที่ยวนี้ถูกไล่ไปอยู่ข้างๆอ่างน้ำมันเครื่อง ส่วนเครื่อง 4A-GELU และ4A-GE(ไม่มี U ต่อท้ายแล้ว) หน้าตายังคงเหมือนเดิม แต่ภายในได้เปลี่ยนไป ทำให้เรี่ยวแรงถดถอยลงกว่าเดิมอีก (เหอๆ จะเปลี่ยนทำไมหว่า)เครื่อง 4A-GELU และ4A-GE ปี1987-1988 General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 9.4 : 1Max Power(hp) 120 at 6,600rpmMax Torque(kg/cm) 14.5 at 5,200rpmในปี 1989-1990 เครื่องตัว 4A-GE เริ่มมีการแต่งหน้าทาปากเสริมหล่อมากขึ้น มีแผ่นปิดสายหัวเทียนเรียบร้อยไม่เกะกะสายตาพร้อมกับเพิ่มพลังให้มากขึ้นด้วย จะได้ไม่ถูกพรรคพวกพิกัดเดียวกันสวนเอาง่ายๆ (เหอๆ จะเหลือไม๊เนี่ย) ส่วนเครื่อง 4A-GZEถึงจะไม่มีการแต่งเติมเสริมความหล่อก็ตาม แต่ภายในมีการอัดฉีดเพิ่มพลังกังฟู จนได้พลังเพิ่มขึ้นอีกโขเลยทีเดียวเครื่อง 4A-GE ปี1989-1990 General DOHC 4cylinder 16valveCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 10.3 : 1Max Power(hp) 140 at 7,200rpmMax Torque(kg/cm) 15 at 6,000rpmเครื่อง 4A-GZE ปี1989-1990 General DOHC 4cylinder 16valve SuperchargerCapacity 1,587cc.Bore 81mm.Stroke 77mm.Compression ratio 8.9 : 1Max Power(hp) 165 at 6,400rpmMax Torque(kg/cm) 21.0 at 4,400rpm
วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
TOYOTA AE86
เปิดตำนานDRIFTกับรถส่งเต้าหู้ TOYOTA AE86
ถ้าท่านเคยติดตามการแข่งขันรถยนต์ในรูปแบบ DRIFT ของประเทศญี่ปุ่น ก็คงจะเห็นรถในรหัสตัวถัง AE86 กันเพียบ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า “ถ้าอยากจะขับรถ DRIFT ให้ดูลีลาสวย จะต้องผ่านการขับ AE86 มาก่อน” เพราะเจ้า AE86 เป็นรถที่มีพื้นฐานเหมาะสมกับการนำมาเล่น DRIFT จนในขณะนี้ญี่ปุ่นเริ่มเก็บเป็นรถสะสมกันแล้ว ส่วนหนึ่งก็คงมาจากตำนานในเรื่องความเป็นที่สุดของรถ DRIFT รวมไปถึงความสวยที่ดูคลาสสิก นอกจากนี้ AE86 ยังแบ่งออกเป็น 2 รุ่นด้วยกัน คือ ถ้าเป็นรุ่นที่มีไฟหน้าแบบ POP-UP จะเรียกว่า TRUENO แต่ถ้าเป็นไฟหน้าแบบธรรมดา จะเรียกว่า LEVIN ซึ่งหลายคนก็ยังสงสัยอีกว่า เคยเห็นในการ์ตูนเรื่อง INITIAL D ทำไมมีรถที่หน้าตาเหมือนกันแต่ใช้รหัสว่า AE85 ซึ่งจริง ๆ แล้ว ความแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงจะเป็นเรื่องเครื่องยนต์ เพราะถ้าเป็น AE85 จะใช้เครื่องยนต์ในรหัส 3A ส่วนเจ้า AE86 จะเป็นเครื่องในรหัส 4A ในจุดต่อไปก็เป็นในเรื่องของสีภายนอกที่เจ้า AE86 จะมีสีสันในสไตล์ทูโทน ส่วนเจ้า AE85 จะเป็นสีเดียวกันทั้งคัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยก็คงเป็นเรื่องของความแตกต่างเกี่ยวกับระบบเบรกที่ AE86 จะเป็นดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อ
ถ้าท่านเคยติดตามการแข่งขันรถยนต์ในรูปแบบ DRIFT ของประเทศญี่ปุ่น ก็คงจะเห็นรถในรหัสตัวถัง AE86 กันเพียบ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า “ถ้าอยากจะขับรถ DRIFT ให้ดูลีลาสวย จะต้องผ่านการขับ AE86 มาก่อน” เพราะเจ้า AE86 เป็นรถที่มีพื้นฐานเหมาะสมกับการนำมาเล่น DRIFT จนในขณะนี้ญี่ปุ่นเริ่มเก็บเป็นรถสะสมกันแล้ว ส่วนหนึ่งก็คงมาจากตำนานในเรื่องความเป็นที่สุดของรถ DRIFT รวมไปถึงความสวยที่ดูคลาสสิก นอกจากนี้ AE86 ยังแบ่งออกเป็น 2 รุ่นด้วยกัน คือ ถ้าเป็นรุ่นที่มีไฟหน้าแบบ POP-UP จะเรียกว่า TRUENO แต่ถ้าเป็นไฟหน้าแบบธรรมดา จะเรียกว่า LEVIN ซึ่งหลายคนก็ยังสงสัยอีกว่า เคยเห็นในการ์ตูนเรื่อง INITIAL D ทำไมมีรถที่หน้าตาเหมือนกันแต่ใช้รหัสว่า AE85 ซึ่งจริง ๆ แล้ว ความแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงจะเป็นเรื่องเครื่องยนต์ เพราะถ้าเป็น AE85 จะใช้เครื่องยนต์ในรหัส 3A ส่วนเจ้า AE86 จะเป็นเครื่องในรหัส 4A ในจุดต่อไปก็เป็นในเรื่องของสีภายนอกที่เจ้า AE86 จะมีสีสันในสไตล์ทูโทน ส่วนเจ้า AE85 จะเป็นสีเดียวกันทั้งคัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยก็คงเป็นเรื่องของความแตกต่างเกี่ยวกับระบบเบรกที่ AE86 จะเป็นดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)